วันอังคาร, พฤศจิกายน 10, 2552

การวิเคราะห์ พรบ การศึกษา หมวด 4

หมวด ๔
แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒
ยืดหลัก ผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การจัดการศึกษาตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เน้นความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการ ในเรื่องความรู้ด้านตนเอง ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญา ทักษะคณิตศาสตร์ ภาษา และการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต
มาตรา ๒๔ สถานศึกษาและหน่วยงาน จัดการเรียนรู้ ดังนี้ (๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจ ความถนัด ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล (๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มา ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (๓) จัดกิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (๔) ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (๕) ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ มีการใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ (๖) มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุก
มาตรา ๒๕รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา ๒๖ สถานศึกษาประเมินผู้เรียนจากพัฒนาการ ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมการทดสอบและใช้วิธีการที่หลากหลาย
มาตรา ๒๗ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำสาระ ด้านสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ความเหมาะสมตามระดับ มุ่งพัฒนา
คุณภาพชีวิต สาระของหลักสูตร มุ่งพัฒนาคนด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา มุ่งหมายพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย
มาตรา ๒๙ สถานศึกษาร่วมกับบุคคล หน่วยงานต่าง ๆ มีการอบรม แสวงหาความรู้ เลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและหาวิธีการสนับสนุนการพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ ส่งเสริมผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา