วันอังคาร, ธันวาคม 01, 2552

Scientific Literacy



Scientific Literacy
จะสอนให้เกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Science Literacy)

การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy)  เป็นการที่บุคคลสามารถข้าใจในทุกแง่มุมของความรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งความเป็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทัศนคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเข้าใจอย่าง   ถ่องแท้ ลึกซึ้ง จนสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นในการที่จะสอนการรู้วิทยาศาสตร์(Scientific Literacy) จึงควรมีมุมมองและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้


 
1.  สอนให้เข้าในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (Nature of Science) โดยควรสอนให้เข้าใจในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับการชี้ให้เห็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สอนให้เกิดทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (knowledge of science) และวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ปะวัติวิทยาศาสตร์ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีที่มีวิทยาศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้อง (knowledge about science) ตลอดจนความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ในชีวิตประจำวัน  ถ้าเราชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร เทคโนโลยีคืออะไร สังคมคืออะไร วัฒนธรรมคืออะไร ทุกอย่างจะทำให้เกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งหมายถึงการรู้ การใช้ การตัดสินใจ ความมีเหตุมีผล การคิดแบบวิทยาศาสตร์ และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เกิด Culture of Science แบบใหม่ คือ เปลี่ยนวัฒนธรรมการสอนวิทยาศาสตร์จากการสอนแบบบอกเนื้อหาเพียงอย่างเดียว เป็นการสอนเนื้อหาพร้อมกับชี้ให้เห็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีการอภิปราย ขบคิดเกี่ยวกับความเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย

2.  สอนให้เกิดจิตวิทยาศาสตร์ (Habits of mind) ต้องสอนเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์(History) ปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Philosophy) และ สังคมวิทยา (Sociology) ให้กับผู้เรียนเพื่อให้เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังช่วยในการนำเอาทักษะวิทยาศาสตร์มาใช้อีกด้วย เช่น การสื่อสาร การใช้ภาษา การสังเกต การจัดการ การประเมินค่า การคำนวณ การคิดวิเคราะห์ ตลอดจนตระหนักและตัดสินใจเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม สมเหตุสมผล คำนึงถึงผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม (Impact of science and technology on society)

3. สอนให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) จากที่เคยรอรับความรู้เพียงฝ่ายเดียว ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดที่จะค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เมื่อเจอปัญหาสามารถศึกษา และหาสาเหตุของปัญหา หาแนวทางแก้ปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างเป็นความรู้ของตนเองได้ (constructivist practice in science) จะทำให้เกิดความคงทนของความรู้ และอาจได้ความรู้ใหม่ วิธีการหาความรู้แบบใหม่ต่อไป

แหล่งข้อมูล : http://gotoknow.org/blog/brochill/278247

Nature of Science














Nature  of  Science
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์คืออะไร

ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยา และสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้ และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์มีความเป็นมาอย่างไร และ นักวิทยาศาสตร์พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไรทั้งในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งในสังคม จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะพื้นฐานของความรู้วิทยาศาสตร์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการอธิบายถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั่นเอง (McComas และคณะ, 1998)
สมาคมครูวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา (AAAS, 1989) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประเทศไทย (IPST, 2003) ได้อธิบายถึง ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของวิทยาศาสตร์ศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (scientific literacy) ไว้ 3 ด้าน ดังนี้

            1) ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์ (scientific knowledge)
เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการสังเกตและประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ข้อเท็จจริง (fact) แนวคิด (concept) ทฤษฎี (hypothesis) กฎ (law) หรือ หลักการ (principle) ดังนั้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์จึงครอบคลุมถึงความเชื่อและเจตคติที่ผู้เรียนมีต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้ ความรู้เป็นความจริงที่มีความคงทน แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะความจริงที่มีอยู่แล้วอาจไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ได้

2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ (scientific inquiry) ครอบคลุมถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการค้นคว้าและสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการเข้าใจถึงความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะหาหลักฐานโดยใช้เหตุผลและจินตนาการ ทำการทดลอง อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มาสนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยพยายามหลีกเลี่ยงอคติและเป็นอิสระจากผู้มีอำนาจ

3) ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการทางวิทยาศาสตร์ (scientific enterprise)
เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เพียงสาขาใดสาขาหนึ่งไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ขั้นสูงได้ เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นความรู้ที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทั้งจากสาขาชีวเคมี พฤกษศาสตร์ หรือแม้กระทั่งกลศาสตร์ที่ช่วยสร้างเครื่องมือติดตามอะตอมของคาร์บอน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น การสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ หรือ การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างบุคคล 2 องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นกิจการที่สำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชนโดยรวมต่อไป ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการทางวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินไปภายใต้สภาพสังคมที่ซับซ้อนทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนไม่อาจมองข้ามได้

คุณค่าของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

Driver และคณะ (1996) อธิบายถึงคุณค่าและความจำเป็นของการมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้ว่า ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์จะช่วยให้นักเรียน
1) ทราบถึงขอบเขต ข้อจำกัด ของความรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
2) สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคม ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิทยาศาสตร์ได้
3) ชื่นชมวิทยาศาสตร์ในแง่ของการมีจริยธรรมและวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน และ
4) ตระหนักถึงคุณค่า และความจำเป็นของการศึกษาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ของตนได้ดียิ่งขึ้น



แหล่งข้อมูล : http://www.edu.nu.ac.th/education-depart/doc/paper
สิรินภา กิจเกื้อกูล, นฤมล ยุตาคม และ อรุณี อิงคากุล 2548. “ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน   
  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”, วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 26 (2) (กำลังตีพิมพ์).
American Association for the Advancement of Science (AAAS). 1989. “Project 2061: Science for All  
 Americans Online”. Available: http://www.project2061.org, October 1, 2001.
Driver, R. et al. 1996. Young People’s Images of Science, Buckingham: Open University Press.






การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศอังกฤษ






การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศอังกฤษ

1. วิสัยทัศน์ผู้นำ ประเทศ กฎหมายนโยบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษา
นายกรัฐมนตรีTony Blair ของอังกฤษ ได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของรัฐบาลในการให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดยเน้นว่าความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์คือ   รากฐานสำคัญของสหราชอาณาจักร  

ปรัชญาในการจัดการศึกษาของรัฐบาลอังกฤษ สรุปได้ดังนี้
1.เด็กทุกคนต้องได้รับความรู้พื้นฐานในการอ่านออกเขียนได้และเน้นความรู้พื้นฐานทางเลขคณิต
2.โรงเรียนทุกแห่งต้องมีการพัฒนาการศึกษา โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ตรวจสอบและให้การสนับสนุนแก่โรงเรียน
3.เด็กทุกคนมีความแตกต่างในการเรียนรู้และความสามารถ
4.คุณภาพการสอนเป็นสิ่งสำคัญ คุณภาพอาจเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างแรงกดดันโดยการตรวจสอบและการให้การสนับสนุนจะช่วยทำ ให้การสอนมีการพัฒนาที่ดี
5.ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมและมีอิทธิพลต่อการศึกษาของเด็ก 
6.การร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียนทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาไปถึงจุดมุ่งหมายที่มีมาตรฐานได้

การกำหนดนโยบายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
อยู่ในความรับผิดชอบของแผนการศึกษาและการจ้างงาน(Department of  Education  and  Employment : DfEE) และมีองค์กรร่วมเสนอความคิดเห็นในการกำหนดนโยบายได้แก่ ราชสมาคม (Royal Society) นโยบายกำหนดให้นักเรียนอายุตั้งแต่ 16 ปี ลงไปได้เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาตลอดจนวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิชา(interdisciplinary) และยังได้ร่วมกับองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์รวม 9 องค์กร สนับสนุนนโยบายให้นักเรียนอายุ14-16 ปี ได้ศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์เป็นเวลาร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของเวลาเรียนทั้งหมดในตารางเรียนโดยราชสมาคมเห็นว่าหัวใจสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร ์ คือ การฝึกปฏบัติ (practical science) และกระบวนการสืบค้น(investigative science)

โครงสร้างทางการศึกษา   โครงสร้างการศึกษาของประเทศอังกฤษ แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ระดับอนุบาล (อายุ 3-4 ปี) ใช้เวลา 2 ปี
2. ระดับการศึกษาภาคบังคับ (อายุ 5-16 ปี) ใช้เวลา 12 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมศึกษา
3. ระดับหลังการศึกษาภาคบังคับ (อายุ 16-18 ปี) ใช้เ้วลาเรียนเต็มเวลา 2 ปี
4. ระดับอุดมศึกษา (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ใช้เวลาเรียนเต็มเวลา 4 ปี
5. การศึกษาตลอดชีวิต (อายุ 21 ปีขึ้นไป) สำหรับผู้ใหญ่

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรแห่งชาติ(National Curriculum) ที่ใช้สำหรับศึกษาภาคบังคับแบ่งได้เ้็ป็น 4 ขั้นแต่ล่ะขั้น เรียกวา่ Key stage ได้แก่  
          Key stage 1  นักเรียนมีอายุ 5-7 ปี     
Key stage 2  นักเรียนมีอายุ 7-11 ปี
Key stage 3 นักเรียนมีอายุ 11-14 ปี 
 Key stage 4  นักเรียนมีอายุ 14-16 ปี

2. หลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับการศึกษา
หลักสูตรแห่งชาติสำหรับการศึกษาภาคบังคับแบ่งเป็นระดับคือ Key stage ได้ 4ระดับ และมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีแบบแผนที่แยกได้เป็น 4 มิติ คือ

มิติที่1 : ระดับการเรียน ประกอบด้วย Key stage ทั้ง 4

มิติที่2 : เนื้อหา แต่ละ Key  stage จะมีเนื้อหาคล้ายกัน แต่ Key stage ที่สูงกว่าจะมีความซับซ้อนและความละเอียดของหัวข้อมากขึ้น และขอบเขตเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ 4 ด้านด้วยกัน คือ
1. การทดลองและการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์
2. กระบวนการแห่งชีวิตและสิ่งมีชีวิต
3. วัสดุศาสตร์และสมบัติของวัสดุ
4. กระบวนการเชิงกายภาพ

           มิติที่3 : วัตถุประสงค์ ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์แห่งชาติ การเรียนรู้ในแต่ละหัวเรื่องได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 5ประการคือ
          1.การสืบสวนเชิงระบบ คือ นักเรียนต้องได้เห็น ได้ทราบ ได้ทำ ได้สัมผัส
          2.วิทยาศาสตรใ์นชีวิติประจำวันและการประยุกต์ใ์ช้วิิิทยาศาสตร
          3.นักเรียนต้องทราบถึงธรรมชาติและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
          4.นักเรียนจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ได้
5.สุขภาพและความปลอดภัย

          มิติที่4 : เป้าหมายหรือแนวการประเมินนักเรียน มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนซึ่งได้มีการแบ่งระดับ(level) ของเป้าหมายในแต่ละเนื้อหาวิชาไว้ 8 ระดับ แบ่งได้ดังนี้
          นักเรียนที่จบการเรียนKey stage 1 ควรมีความสามารถในระดับ 1-3
 นักเรียนที่จบการเรียนใน   Key stage 2 ควรมีความสามารถในระดับ 2-5
          นักเรียนที่จบการเรียนใน  Key stage 3 ควรมีความสามารถในระดับ 3-7(8)

          สำหรับระดับ 8 เป็นส่วนของเด็กที่มีความสามารถสูง ส่วนการประเมินนักเรียนใน    Key stage 4 นั้น จะใช้ข้อสอบกลางที่เรียกว่า General Certificate of Secondary Education หรือ GCSE


3.  การพัฒนาครูประจำ การและนักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
          การพัฒนาครูประจำการในประเทศอังกฤษอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแผนกการศึกษาและการจ้างงาน(DfEE)  ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการพัฒนาครูประจำการร่วมกับ Welsh Office Education Department แห่งเวลส์ และ Department of Education
for Northern Ireland ผ่านหน่วยงาน Teacher Training Agency ซึ่งลักษณะของการพัฒนาครูประจำการมีหลายรูปแบบ ดังนี้
          1. การฝึกอบรมขั้นต้น ภายหลังจากที่ครูได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์มาแล้วจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ITT (Initial Teacher Training) การฝึกอบรมส่วนใหญ่จะเน้นด้านศึกษาศาสตร์และวิชาชีพและได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
          2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT (Information and Communication Technology) มุ่งเน้นให้ครูพัฒนาตนเองโดยใช้ ICT เป็นหลักเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสอนของครูและสามารถเลือกใช้ ICT ในการสอนของตนตามความเหมาะสมได้โดยมีเครือข่ายแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้ (National Grid for Learning: NGFL) 
          3. ศูนย์ครูเสมือนจริง (VTC : Virtual Teacher Centre) ทำหน้าที่เพื่อนครูช่วยครูสอนวิทยาศาสตร์ผ่านทางไกล  โดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า โฮมเพจ มีสาระที่ครูจำเป็นจะต้องทราบให้เลือกศึกษา ทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับ Website อื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องที่ครูควรจะต้องทราบด้วย
          4. ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยจะจัดส่งอาจารย์หรือนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือคณิตศาสตร์ศึกษาไปยังโรงเรียน เพื่อเสนอแนะวิธีการสอน ติดตามผลของวิธีการสอนช่วยจัดทำ   ชุดการสอนเฉพาะเรื่อง (learning kit) และสนับสนุนวัสดุหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น
          5. การส่งเสริมและดำเนินการโดยองค์กรอื่น ๆ ได้แก่ องค์กรเอกชนต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ สมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         การพัฒนานักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาซึ่งมี 2 รูปแบบ กล่าวคือ 
         นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ มาแล้วและไปเพิ่มเติมความรู้ทางศึกษาศาสตร์ในภายหลังเพื่อที่จะสามารถเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นที่ยอมรับ
         การพัฒนานักศึกษาครุอีกรูปแบบหนึ่ง คือ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทางด้านศึกษาศาสตร์จะได้รับการพัฒนาโดยเรียนรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วยนอกเหนือไปจากรายวิชาทางด้านศึกษาศาสตร์ซึ่งการผลิตครูสาขาวิทยาศาสตร์ในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะเดียวกับรูปแบบการผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย
         สำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา จะเป็นการศึกษาไม่เต็มเวลา และไม่มีรายวิชาเรียนแต่จะเน้นงานวิจัยเป็นสำคัญ และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เป็นประโยชน์กับงานวิจัยของตนได้

4. มาตรฐานการศึกษาและแนวทางการประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
          การฝึกอบรมที่จัดขึ้นในระยะหลังการศึกษาภาคบังคับจะมีองค์กร  ในการประเมินประสิทธิภาพของบุคคลภายหลังการฝึกอบรมซึ่งก็คือ NVQs (National Vocational Qualification)     เป็นผู้ประเมินในเรื่องมาตรฐานโรงเรียนจะมีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับอยู่ในช่วงอายุ 5-16ปี ในประเทศอังกฤษจำแนกโรงเรียน  ออกเป็น 2 ประเภท คือ โรงเรียนรัฐบาลซึ่งมีจำนวนนักเรียนเข้าเรียนมากถึงร้อยละ 90 โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ในขณะที่โรงเรียนเอกชนมีนักเรียนเข้าเรียนอยู่ค่อนข้างน้อยคือ ประมาณร้อยละ 7 โรงเรียนรัฐบาลในประเทศอังกฤษยังสามารถจำแนกได้อีกหลายประเภท ทั้งนี้โดยมีองค์กรการศึกษาท้องถิ่น(LEA : Local Education Authorities) เป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุนเป็น ส่วนใหญ่

สำหรับการประกันคุณภาพทางการศึกษา สำนักงานมาตรฐานทางการศึกษาหรือ OFSTED (Office for Standards in Education) จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลตรวจสอบคุณภาพของโรงเรียนทุกๆ 6 เดือน โดยละเอียดทุกด้าน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของ โรงเรียนการบริหาร การเรียนการสอน เจตคติของนักเรียนต่อโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งผู้ตรวจสอบจะได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อบกพร่องของโรงเรียนเพื่อเสนอแนะให้ทางโรงเรียนได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลา 2 ปี หากไม่มีการแก้ไขใด ๆเกิดขึ้นโรงเรียนอาจจะถูกระงับการสอนได้ในที่สุด

          ในส่วนมาตรฐานของครูครูส่วนใหญ่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ITT (Initial Teacher Training) ซึ่งจะต้องได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ QTS (Qualified Teacher Status) นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมทางไกลผ่านหลักสูตร ICTและ VTC ให้ครูได้พัฒนาการเรียนการสอนของตนด้วย

          ด้านคุณภาพการศึกษาและการประเมินผลก็มีการระบุเป้าประสงค์และมาตรฐานของแต่ละรายวิชาไว้เป็นระดับชั้นคือในแต่ละ Key Stage นักเรียนควรจะมีความสามารถในชว่งระดับใดสำหรับการประเมินผลการศึกษาปลายปีนั้นนักเรียนในKey Stage ที่ 1-3 จะต้องได้รับการประเมินวิชาแกน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำ หรับ Key Stage ที่ 4 จะต้องทดสอบข้อสอบกลาง (General Certificate of Secondary Education : GCSE)

5.  รูปแบบการให้การศึกษานอกโรงเรียนและการสนับสนุนจากภาคเอกชน
          การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์นอกโรงเรียนมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องสาธิตทางวิทยาศาสตร์ถาวร   การแสดงละครวิทยาศาสตร์(Science entertainment) รายการโทรทัศน์ ฯลฯ นอกจากองค์กรทางด้านการศึกษา และมหาวิทยาลัยแล้ว  ภาคเอกชนยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์นอกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์สำหรับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จะปรากฏอยู่ในเมืองหลักทุก ๆ แห่ง และแต่ละพิพิธภัณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันอาจขึ้นอยู่กับที่ตั้งของเมืองประวัติศาสตร์ของเมือง ส่วนห้องสาธิตถาวรทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นห้องที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้แสดงหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของการจัดการศึกษา วิทยาศาสตร์นอกโรงเรียนโดยการแสดงละคร(Science entertainment)

          นอกจากนี้ภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญ ซึ่งให้การส่งเสริมทั้งด้านการเงินและทางวิชาการในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน ตลอดจนการให้ทุนการศึกษาการร่วมจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ การสร้างชุดการศึกษาสำเร็จรูป  เป็นต้น



แหล่งข้อมูล :  www.onec.go.th