วันอังคาร, ธันวาคม 01, 2552

การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศอังกฤษ






การปฏิรูปวิทยาศาสตร์ศึกษาในประเทศอังกฤษ

1. วิสัยทัศน์ผู้นำ ประเทศ กฎหมายนโยบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ศึกษา
นายกรัฐมนตรีTony Blair ของอังกฤษ ได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของรัฐบาลในการให้ความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศโดยเน้นว่าความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์คือ   รากฐานสำคัญของสหราชอาณาจักร  

ปรัชญาในการจัดการศึกษาของรัฐบาลอังกฤษ สรุปได้ดังนี้
1.เด็กทุกคนต้องได้รับความรู้พื้นฐานในการอ่านออกเขียนได้และเน้นความรู้พื้นฐานทางเลขคณิต
2.โรงเรียนทุกแห่งต้องมีการพัฒนาการศึกษา โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ตรวจสอบและให้การสนับสนุนแก่โรงเรียน
3.เด็กทุกคนมีความแตกต่างในการเรียนรู้และความสามารถ
4.คุณภาพการสอนเป็นสิ่งสำคัญ คุณภาพอาจเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างแรงกดดันโดยการตรวจสอบและการให้การสนับสนุนจะช่วยทำ ให้การสอนมีการพัฒนาที่ดี
5.ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมและมีอิทธิพลต่อการศึกษาของเด็ก 
6.การร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียนทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาไปถึงจุดมุ่งหมายที่มีมาตรฐานได้

การกำหนดนโยบายการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
อยู่ในความรับผิดชอบของแผนการศึกษาและการจ้างงาน(Department of  Education  and  Employment : DfEE) และมีองค์กรร่วมเสนอความคิดเห็นในการกำหนดนโยบายได้แก่ ราชสมาคม (Royal Society) นโยบายกำหนดให้นักเรียนอายุตั้งแต่ 16 ปี ลงไปได้เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาตลอดจนวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิชา(interdisciplinary) และยังได้ร่วมกับองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์รวม 9 องค์กร สนับสนุนนโยบายให้นักเรียนอายุ14-16 ปี ได้ศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์เป็นเวลาร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของเวลาเรียนทั้งหมดในตารางเรียนโดยราชสมาคมเห็นว่าหัวใจสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร ์ คือ การฝึกปฏบัติ (practical science) และกระบวนการสืบค้น(investigative science)

โครงสร้างทางการศึกษา   โครงสร้างการศึกษาของประเทศอังกฤษ แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ระดับอนุบาล (อายุ 3-4 ปี) ใช้เวลา 2 ปี
2. ระดับการศึกษาภาคบังคับ (อายุ 5-16 ปี) ใช้เวลา 12 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมศึกษา
3. ระดับหลังการศึกษาภาคบังคับ (อายุ 16-18 ปี) ใช้เ้วลาเรียนเต็มเวลา 2 ปี
4. ระดับอุดมศึกษา (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ใช้เวลาเรียนเต็มเวลา 4 ปี
5. การศึกษาตลอดชีวิต (อายุ 21 ปีขึ้นไป) สำหรับผู้ใหญ่

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรแห่งชาติ(National Curriculum) ที่ใช้สำหรับศึกษาภาคบังคับแบ่งได้เ้็ป็น 4 ขั้นแต่ล่ะขั้น เรียกวา่ Key stage ได้แก่  
          Key stage 1  นักเรียนมีอายุ 5-7 ปี     
Key stage 2  นักเรียนมีอายุ 7-11 ปี
Key stage 3 นักเรียนมีอายุ 11-14 ปี 
 Key stage 4  นักเรียนมีอายุ 14-16 ปี

2. หลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับการศึกษา
หลักสูตรแห่งชาติสำหรับการศึกษาภาคบังคับแบ่งเป็นระดับคือ Key stage ได้ 4ระดับ และมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีแบบแผนที่แยกได้เป็น 4 มิติ คือ

มิติที่1 : ระดับการเรียน ประกอบด้วย Key stage ทั้ง 4

มิติที่2 : เนื้อหา แต่ละ Key  stage จะมีเนื้อหาคล้ายกัน แต่ Key stage ที่สูงกว่าจะมีความซับซ้อนและความละเอียดของหัวข้อมากขึ้น และขอบเขตเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์มีอยู่ 4 ด้านด้วยกัน คือ
1. การทดลองและการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์
2. กระบวนการแห่งชีวิตและสิ่งมีชีวิต
3. วัสดุศาสตร์และสมบัติของวัสดุ
4. กระบวนการเชิงกายภาพ

           มิติที่3 : วัตถุประสงค์ ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์แห่งชาติ การเรียนรู้ในแต่ละหัวเรื่องได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 5ประการคือ
          1.การสืบสวนเชิงระบบ คือ นักเรียนต้องได้เห็น ได้ทราบ ได้ทำ ได้สัมผัส
          2.วิทยาศาสตรใ์นชีวิติประจำวันและการประยุกต์ใ์ช้วิิิทยาศาสตร
          3.นักเรียนต้องทราบถึงธรรมชาติและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
          4.นักเรียนจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ได้
5.สุขภาพและความปลอดภัย

          มิติที่4 : เป้าหมายหรือแนวการประเมินนักเรียน มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนซึ่งได้มีการแบ่งระดับ(level) ของเป้าหมายในแต่ละเนื้อหาวิชาไว้ 8 ระดับ แบ่งได้ดังนี้
          นักเรียนที่จบการเรียนKey stage 1 ควรมีความสามารถในระดับ 1-3
 นักเรียนที่จบการเรียนใน   Key stage 2 ควรมีความสามารถในระดับ 2-5
          นักเรียนที่จบการเรียนใน  Key stage 3 ควรมีความสามารถในระดับ 3-7(8)

          สำหรับระดับ 8 เป็นส่วนของเด็กที่มีความสามารถสูง ส่วนการประเมินนักเรียนใน    Key stage 4 นั้น จะใช้ข้อสอบกลางที่เรียกว่า General Certificate of Secondary Education หรือ GCSE


3.  การพัฒนาครูประจำ การและนักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา
          การพัฒนาครูประจำการในประเทศอังกฤษอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแผนกการศึกษาและการจ้างงาน(DfEE)  ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการพัฒนาครูประจำการร่วมกับ Welsh Office Education Department แห่งเวลส์ และ Department of Education
for Northern Ireland ผ่านหน่วยงาน Teacher Training Agency ซึ่งลักษณะของการพัฒนาครูประจำการมีหลายรูปแบบ ดังนี้
          1. การฝึกอบรมขั้นต้น ภายหลังจากที่ครูได้รับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์มาแล้วจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ITT (Initial Teacher Training) การฝึกอบรมส่วนใหญ่จะเน้นด้านศึกษาศาสตร์และวิชาชีพและได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู
          2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT (Information and Communication Technology) มุ่งเน้นให้ครูพัฒนาตนเองโดยใช้ ICT เป็นหลักเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสอนของครูและสามารถเลือกใช้ ICT ในการสอนของตนตามความเหมาะสมได้โดยมีเครือข่ายแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้ (National Grid for Learning: NGFL) 
          3. ศูนย์ครูเสมือนจริง (VTC : Virtual Teacher Centre) ทำหน้าที่เพื่อนครูช่วยครูสอนวิทยาศาสตร์ผ่านทางไกล  โดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า โฮมเพจ มีสาระที่ครูจำเป็นจะต้องทราบให้เลือกศึกษา ทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับ Website อื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องที่ครูควรจะต้องทราบด้วย
          4. ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยจะจัดส่งอาจารย์หรือนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือคณิตศาสตร์ศึกษาไปยังโรงเรียน เพื่อเสนอแนะวิธีการสอน ติดตามผลของวิธีการสอนช่วยจัดทำ   ชุดการสอนเฉพาะเรื่อง (learning kit) และสนับสนุนวัสดุหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น
          5. การส่งเสริมและดำเนินการโดยองค์กรอื่น ๆ ได้แก่ องค์กรเอกชนต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์ สมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         การพัฒนานักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาซึ่งมี 2 รูปแบบ กล่าวคือ 
         นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ มาแล้วและไปเพิ่มเติมความรู้ทางศึกษาศาสตร์ในภายหลังเพื่อที่จะสามารถเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ได้อย่างเป็นที่ยอมรับ
         การพัฒนานักศึกษาครุอีกรูปแบบหนึ่ง คือ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทางด้านศึกษาศาสตร์จะได้รับการพัฒนาโดยเรียนรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วยนอกเหนือไปจากรายวิชาทางด้านศึกษาศาสตร์ซึ่งการผลิตครูสาขาวิทยาศาสตร์ในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะเดียวกับรูปแบบการผลิตครูในคณะศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย
         สำหรับการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา จะเป็นการศึกษาไม่เต็มเวลา และไม่มีรายวิชาเรียนแต่จะเน้นงานวิจัยเป็นสำคัญ และนักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เป็นประโยชน์กับงานวิจัยของตนได้

4. มาตรฐานการศึกษาและแนวทางการประเมินผลด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา
          การฝึกอบรมที่จัดขึ้นในระยะหลังการศึกษาภาคบังคับจะมีองค์กร  ในการประเมินประสิทธิภาพของบุคคลภายหลังการฝึกอบรมซึ่งก็คือ NVQs (National Vocational Qualification)     เป็นผู้ประเมินในเรื่องมาตรฐานโรงเรียนจะมีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับอยู่ในช่วงอายุ 5-16ปี ในประเทศอังกฤษจำแนกโรงเรียน  ออกเป็น 2 ประเภท คือ โรงเรียนรัฐบาลซึ่งมีจำนวนนักเรียนเข้าเรียนมากถึงร้อยละ 90 โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ในขณะที่โรงเรียนเอกชนมีนักเรียนเข้าเรียนอยู่ค่อนข้างน้อยคือ ประมาณร้อยละ 7 โรงเรียนรัฐบาลในประเทศอังกฤษยังสามารถจำแนกได้อีกหลายประเภท ทั้งนี้โดยมีองค์กรการศึกษาท้องถิ่น(LEA : Local Education Authorities) เป็นผู้ดูแลและให้การสนับสนุนเป็น ส่วนใหญ่

สำหรับการประกันคุณภาพทางการศึกษา สำนักงานมาตรฐานทางการศึกษาหรือ OFSTED (Office for Standards in Education) จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลตรวจสอบคุณภาพของโรงเรียนทุกๆ 6 เดือน โดยละเอียดทุกด้าน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของ โรงเรียนการบริหาร การเรียนการสอน เจตคติของนักเรียนต่อโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งผู้ตรวจสอบจะได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อบกพร่องของโรงเรียนเพื่อเสนอแนะให้ทางโรงเรียนได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลา 2 ปี หากไม่มีการแก้ไขใด ๆเกิดขึ้นโรงเรียนอาจจะถูกระงับการสอนได้ในที่สุด

          ในส่วนมาตรฐานของครูครูส่วนใหญ่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ITT (Initial Teacher Training) ซึ่งจะต้องได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ QTS (Qualified Teacher Status) นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมทางไกลผ่านหลักสูตร ICTและ VTC ให้ครูได้พัฒนาการเรียนการสอนของตนด้วย

          ด้านคุณภาพการศึกษาและการประเมินผลก็มีการระบุเป้าประสงค์และมาตรฐานของแต่ละรายวิชาไว้เป็นระดับชั้นคือในแต่ละ Key Stage นักเรียนควรจะมีความสามารถในชว่งระดับใดสำหรับการประเมินผลการศึกษาปลายปีนั้นนักเรียนในKey Stage ที่ 1-3 จะต้องได้รับการประเมินวิชาแกน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำ หรับ Key Stage ที่ 4 จะต้องทดสอบข้อสอบกลาง (General Certificate of Secondary Education : GCSE)

5.  รูปแบบการให้การศึกษานอกโรงเรียนและการสนับสนุนจากภาคเอกชน
          การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์นอกโรงเรียนมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ห้องสาธิตทางวิทยาศาสตร์ถาวร   การแสดงละครวิทยาศาสตร์(Science entertainment) รายการโทรทัศน์ ฯลฯ นอกจากองค์กรทางด้านการศึกษา และมหาวิทยาลัยแล้ว  ภาคเอกชนยังได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์นอกโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์สำหรับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จะปรากฏอยู่ในเมืองหลักทุก ๆ แห่ง และแต่ละพิพิธภัณฑ์ก็จะมีความแตกต่างกันอาจขึ้นอยู่กับที่ตั้งของเมืองประวัติศาสตร์ของเมือง ส่วนห้องสาธิตถาวรทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นห้องที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้แสดงหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของการจัดการศึกษา วิทยาศาสตร์นอกโรงเรียนโดยการแสดงละคร(Science entertainment)

          นอกจากนี้ภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญ ซึ่งให้การส่งเสริมทั้งด้านการเงินและทางวิชาการในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน ตลอดจนการให้ทุนการศึกษาการร่วมจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ การสร้างชุดการศึกษาสำเร็จรูป  เป็นต้น



แหล่งข้อมูล :  www.onec.go.th







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น